มหัศจรรย์ทางธรรมชาติของโลกสมัยดึกดำบรรพ์มนุษย์จะมองโลกทุกๆด้านเป็นสิ่งน่าฉงนสนเท่ห์ และแปลกประหลาดไปทั้งหมด ไม่ว่าจะแหงนหน้าขึ้นไปบนท้องฟ้า หรือมองดูสภาวการณ์รอบๆตัว จะพบแต่สิ่งเร้นลับของปรากฎการณ์ต่างๆทั้งสิ้น มนุษย์จึงได้เริ่มยุคของการเสาะแสวงหาความจริงเกี่ยวกับความลึกลับของโลกนี้ตลอดมา และชั่วระยะเวลาอันไม่นานมนุษย์ก็สามารถศึกษาเรื่องราวต่างๆ และเข้าใจถูกต้องมากขึ้น ทั้งนี้นับว่าเป็นโชคดีอย่างยิ่งของชีวิตมนุษย์ ที่มีกระบวนการพัฒนาการเจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วยิ่งกว่าสัตว์ทั้งหลาย
เริ่มแรกของการสังเกตเกี่ยวกับโลกและท้องฟ้า ซึ่งปัจจุบันเรายังไม่ทราบแน่ชัดว่า เขาเหล่านั้นมีความเห็นและความรู้สึกไปในทำนองใดหรือด้านใด บางทีอาจจะมองพื้นดินและท้องฟ้า เช่นเดียวกับชาวอียิปต์โบราณ ที่ให้ความคิดว่าโลกนี้เป็นห้องใหญ่ห้องหนึ่ง แผ่นดินเป็นพื้นของห้อง ท้องฟ้าอันกว้างใหญ่เป็นเพด้านที่ค้ำไว้ด้วยเสาใหญ่ 4 ต้น และแขวนไว้ด้วยอำนาจประหลาดของพระเจ้า มีดวงดาวที่ทอแสงระยิบระยับเป็นตะเกียง ดังนี้ก็อาจเป็นได้
แต่ในปัจจุบันนี้ ข้อเท็จจริงและการค้นคว้าตรวจสอบ เป็นที่รับรองต้องกันแล้วว่าโลกมิได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล หากเป็นดาวเคราะห์และเป็นบริวารดวงหนึ่งของดวงอาทิตย์ และแม้ดวงอาทิตย์เองก็มิได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลทั้งหมด เป็นเพียงกลุ่มดาวเล็กๆ เท่านั้น ในจำนวนกลุ่มดาวทั้งหลายที่เรามองเห็นเป็นแถบ อยู่ในท้องฟ้าเป็นแถบหนาพาดไปตามท้องฟ้านั้น ส่วนที่หนาแน่นที่สุด และเห็นได้ชัดเจนที่สุด เรียกว่า ทางช้างเผือก (Milky Way)
นอกจากนั้น เรายังรู้ต่อไปอีกว่า โลกนี้มิได้หยุดนิ่งกับที่ แต่หมุนไปรอบๆดวงอาทิตย์คล้ายลูกข่าง ด้วยความเร็ว 1000 ไมล์ต่อชั่วโมง ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร และยังโคจรเป็นรูปวงรี ด้วยความเร็ว 20 ไมล์ต่อวินาที เพราะการหมุนเวียนรอบตัวเอง และความหนาแน่นของโลกเป็นเหตุที่ทำให้โลกเกิดแรงดึงดูดขึ้น ที่เราเรียกว่า แรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity) นั่นเอง ซึ่งเพราะอำนาจของแรงโน้มถ่วงของโลกนี้เองที่ทำให้สรรพสิ่งต่างๆ คงอยู่ในโลกนี้ ไม่หลุดกระเด็นออกไปนอกโลก
โลกเรานี้เป็นเพียงเพียงวัตถุส่วนหนึ่งของจักรวาลเท่านั้น แต่มีลักษณะพิเศษไปกว่าส่วนอื่นๆของจักรวาลนี้ เพราะในระบบสุริยะจักรวาล บางส่วนมีอุณหภูมิถึง 3 ล้าน 5 แสน องศาฟาเรนไฮต์ และบางส่วนที่ว่างเปล่าเย็นเยือกมีอุณหภูมิต่ำถึง - 459 องศาฟาเรนไฮต์ แต่ทว่าโลกเรานี้มีอุณหภูมิและส่วนประกอบอื่นๆที่เหมาะสม ทำให้ชีวิตอุบัติขึ้นมาได้ ในรูปร่างของพืช สัตว์ และมนุษย์ ในส่วนหนึ่งของชีวิตเหล่านี้ ชีวิตที่พัฒนาการขึ้นมาเป็นมนุษย์นับว่าเป็นสิ่งที่เจริญถึงขั้นที่สุด การเกิดของโลก ของสภาวะแวดล้อม ของชีวิตตั้งแต่เล็กที่สุดขึ้นมาจนถึงมนุษย์นั้น กว่าจะสำเร็จมาได้แต่ละขั้นนั้น ต้องเสียเวลานานและเต็มไปด้วยความซับซ้อนอย่างยิ่ง
กำเนิดสุริยะจักรวาลตามแนวทางการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ปรากฎว่าราว 5 พันล้านปีล่วงมาแล้ว ภายในอวกาศมีกลุ่มก๊าซและยังมีหมอกเพลิงอยู่ทั่วไป อาศัยแรงแห่งความโน้มถ่วงและความกดดัน สืบเนื่องมาจากกลุ่มก๊าซภายนอกกลุ่มอื่นๆผลักดันให้กลุ่มก๊าซและหมอกเพลิงเหล่านั้นรวมตัวกันเข้า และค่อยๆหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราความเร็วเพิ่มขึ้นทุกที เมื่อกลุ่มของก๊าซและหมอกเพลิงรวมตัวกันหนาแน่นมากขึ้น มีอัตราเร็วของการหมุนมากขึ้น อุณหภูมิก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นด้วย จนในที่สุดก็เป็นดาวฤกษ์ที่มีระดับความร้อนสูงและมีแสงสว่างสดใส บางกลุ่มอาจจับกลุ่มกันมากกว่าสองขึ้นไป แต่บางกลุ่มก็อยู่โดดเดี่ยว เช่นดวงอาทิตย์ของเราเป็นต้น
การเกิดแผ่นดินและทวีปเมื่อแรกแตกตัวออกมาจากดวงอาทิตย์นั้น ลูกโลกก็มีลักษณะเป็นดังกลุ่มหมอกเพลิง เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ และก็เคลื่อนที่ไปตามวงโคจรของมันรอบดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าจึงเย็นตัวเร็วกว่าดวงอาทิตย์ และในขณะที่เกิดการเย็นตัวนี้เอง สารที่เป็นส่วนประกอบพวกใดที่มีความหนาแน่นมากกว่า ก็จมลงไปอยู่ในใจกลางลูกกลมๆที่จะกลายเป็นโลก ส่วนที่เบากว่าก็เป็นองค์ประกอบอยู่ภายนอก และจากภายในก็มีไอน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์พุ่งขึ้นมาพร้อมกับก๊าซอย่างอื่น ทำให้เกิดบรรยากาศห่อหุ้มโลก
นานแสนนานต่อมา ผิวโลกเย็นตัวลงอย่างช้าๆ และอาจกินเวลานานนับล้านๆปีที่ความร้อนภายใน ค่อยแผ่กระจายขึ้นไปภายนอก วัตถุที่หลอมละลายอยู่ข้างในก็พวยพุ่งออกมาภายนอก ในขณะที่มันเย็นตัวลงไปอีก แต่เพราะมีน้ำหนักมากก็เลื่อนตกกลับลงไปในส่วนลึกของมันอีก และส่วนภายในนั้นร้อนแรงและยังคงคุโชนอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
ดังนั้นภายในโลกจึงอาจจะเป็นแร่ธาตุที่หลอมเหลวและร้อนระอุอยู่ และมีขนาดมหึมา เส้นผ่าศูนย์กลางเฉพาะส่วนที่หลอมเหลวยาวถึง 4500 ไมล์ และมีอุณหภูมิที่ราวๆ 5000 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเป็นความร้อนที่เกือบเท่าๆ กับความร้อนของผิวดวงอาทิตย์ ธาตุที่หลอมเหลวนี้จัดเป็นผิวโลกชั้นในที่เรียกว่าเสื้อคลุมชั้นใน อาจหนาถึง 1800 ไมล์ ประกอบด้วยหิน ธาตุเหล็ก และโลหะอย่างอื่นๆปนอยู่อีกมาก
รอบๆ เสื้อคลุมชั้นในนี้ กลายเป็นชั้นบางๆของผิวโลก ถ้าเปรียบโลกทั้งใบเป็นดังผลแอปเปิล ผิวชั้นนี้ก็ไม่หนาไปกว่าผิวแอปเปิลเลย ชั้นล่างของชั้นหินนี้เป็นหินที่เราพบในลักษณะของลาวา ซึ่งภูเขาไฟพ่นออกประมาณว่าเปลือกนี้หนาถึง 20 ไมล์ ชั้นล่างสุดของผิวนี้เป็นท้องมหาสมุทรและทะเล ส่วนที่สูงขึ้นมาก็เป็นพื้นผิวของทวีปซึ่งกลายเป็นภูเขา แผ่นดิน และเนื้อเปลือกโลกชั้นนอกสุด อันเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
เริ่มแรกที่ทวีปเกิดขึ้นใหม่ๆนั้น มีลักษณะน่ากลัวมาก เพราะขณะนั้นผิวโลก และภายในยังคงร้อนระอุอยู่ จึงมีเปลวไฟ กลุ่มก๊าซที่ร้อนจัด และหมอกควันระเบิดพวยพุ่งขึ้นมาเป็นแห่งๆ บางทีก็มีลาวาที่ประกอบด้วยหินละลายเหลวไหลขึ้นมาเป็นทะเลเพลิง ซึ่งในทะเลเพลิงของลาวานี้ก็มีหินแกรนิตมหึมาผุดลอยขึ้นมาด้วย เมื่อเย็นลงก็มีหินละลายส่วนอื่นๆจัลเกาะเพิ่มเติมให้หนาออกไปเรื่อยๆ และในบางส่วนผิวนอกเย็นตัวเกาะเป็นของแข็ง แต่บางส่วนภายในที่ยังเดือดอยู่ก็ผลักดันให้ปูดนูนขึ้นภายนอก
ไม่มีใครทราบแน่นอนว่าส่วนของทวีปในโลกนี้ เกิดขึ้นในบริเวณไหนก่อน อาจเกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน ในหลายๆแห่ง แล้วค่อยๆแปรสภาพไปทีละขั้นตอน ตามอำนาจของการเปลี่ยนแปลงของโลก จนมีสภาพกลายเป็นทวีปต่างๆ และทุกวันนี้ผิวโลกส่วนที่เป็นทวีปนี้ ก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ช้าลงเท่านั้น
การเกิดน้ำเมื่อผิวโลกร้อนอยู่นั้น ถูกห่อหุ้มด้วยกลุ่มเมฆหมอกของก๊าซต่างๆ ซึ่งอาจจะกินเวลานานนับล้านปีที่เมฆหมอกเหล่านี้ปกคุมโลกอยู่ ต่อมาเมฆหมอกและก๊าซก็ค่อยๆเย็นตัวลงตามลำดับ การรวมตัวของก๊าซบางอย่างที่พอเหมาะกับXส่วน ทำให้เกิดละอองไอน้ำลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อเย็นลงก็จับตัวกันเป็นหยดน้ำและตกลงมาเป็นฝน เมื่อฝนตกลงมากระทบผิวโลกที่ยังร้อนอยู่ก็กลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปรวมตัวกันเป็นเมฆดำและเป็นฝนตกลงมาอีก เมื่อผิวโลกเย็นตัวลง ฝนที่ตกลงมาก็ตกค้างเหลืออยู่บนผิวโลกบ้าง ระเหย กลับขึ้นไปอีกบ้าง ครั้นฝนตกลงมาเรื่อยๆ นับเป็นเวลาล้านๆปี อำนาจของน้ำฝนที่ตกลงมาในที่สูงของแผ่นดิน ซึ่งต่อมาเราเรียกว่าภูเขานั้นก็จะไหลลงสู่ที่ต่ำเบื้องล่าง และขังอยู่ตามแอ่งของผิงโลกคล้ายกับสระน้ำมหึมา เมื่อฝนค่อยๆเบาบางลงเมฆหมอกก็เริ่มจางลง น้ำฝนที่ตกลงมาสะสมมากขึ้นก็ทำให้เกิดเป็นมหาสมุทร
เวลาได้ผ่านไปอีกหลายล้านปีกว่าผิวโลก มหาสมุทร และทะเลต่างๆ จะปรากฎออกมาอย่างที่ได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ นับแต่ยุคฝนตกใหญ่ และมีน้ำท่วมผิวโลก ทำให้ผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอีกเรื่อยมา ทำให้บางส่วนที่เคยเป็นพื้นดินยุบตัวลึกลงเป็นทะเลหรือมหาสมุทรไป และส่วนที่เคยจมน้ำอยู่บางส่วนถูกกดดันให้ปูดนูนสูงขึ้นมาพ้นน้ำบ้าง ริมแผ่นดินที่จรดขอบน้ำอันเป็นฝั่งทะเลหรือฝั่งมหาสมุทร ก็เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ ทำให้มีลักษณะเว้าแหว่งดังเช่นที่เห็นอยู่ทุกวันนี้
การเกิดภูเขาเมื่อภายในโลกเย็นตัวลง และมีการยุบตัวลงอีกที่ผิวนอก และเกิดรอยย่นเพราะการเปลี่ยนแปลงของความกดดันของโลกภายใน จึงทำให้เกิดภูเขาสูงและหุบเหวลึกขึ้นในส่วนต่างๆ ฝนที่ตกลงมาผสมกับก๊าซบางอย่างในอากาศ ทำให้มีสภาวะเป็นกรด กร่อนและเซาะภูเขาให้เว้าแหว่ง หลุดเลื่อนลงไปยังส่วนที่ต่ำที่สุด และเมื่อฝนตกลงมาอีก ก็ชะเอาส่วนที่สึกกร่อนอันประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ และสอ่งอื่นๆไปด้วย แร่ธาตุและเกลือเหล่านี้จะลงไปสะสมอยู่ในทะเลมากขึ้นจนทำให้น้ำมีรสเค็ม และเนื่องจากน้ำเป็นของเหลว เมื่อถูกความร้อนหรือได้รับแรงดึงดูดจากดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ ก็เกิดปรากฎการณ์เอ่อนูนและลดต่ำ เป็นน้ำขึ้นน้ำลง และมีกระแสน้ำหมุนเวียน ทำให้ผิวโลกถูกทำลายให้เปลี่ยนแปลงลักษณะอยู่ตลอดเวลา
เทือกเขาที่โผล่สูงขึ้นมาก็เกิดพังลงเพราะอำนาจของแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟ ในขณะที่ผิวไลกเกิดการหดตัว ผิวโลกบางส่วนที่เป็นของแข็งก็แตกร้าวเป็นร่องกว้าง ทำให้หินเลื่อนมากระทบกัน และก็มีไม่น้อยที่ชั้นของหินถูกแรงกดดันภายในโลกดันให้โผล่ขึ้นมาจากมหาสมุทร ทำให้เกิดเป็นเกาะหรือทวีป
การเคลื่อนที่ทันทีทันใด เกี่ยวกับการหดตัวของผิวโลก และหินเลื่อนกระทบกัน หรือหินเดือดภายในโกลกดดัน ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น แร่ธาตุที่ร้อนจัดละลายอยู่ภายในของโลกก็พุ่งขึ้นมาตามรอยร้าวของหิน พ่นเอาก๊าซ และลาวาขึ้นมาด้วย เกิดเป็นภูเขาไฟ จึงมาลาวาปกคลุมผิวโลกอยู่ และนานนับล้านปีจึงจะสึกกร่อนกลายเป็นแผ่นดินไปได้บ้าง ลักษณะเช่นนี้จะเห็นได้จากพื้นที่จำนวนหลายแสนตารางไมล์ ทางบริเวณตะวันตกของประเทศแคนาดาปัจจุบัน ที่ปกคลุมด้วยหินลาวาและเกิดเป็นเทือกเขา ลอเรนเตียนส์ให้เห็นจนทุกวันนี้
เทือกเขาสูงๆ ทั้งหลายบนโลก เช่น เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาร็อกกี้ เทือกเขาแอล์ป และเทือกเขาแอนดีส ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ เทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาบางลูก ยังปรากฎ
ให้เห็นอยู่ว่าถูกผลักดันให้สูงขึ้นเรื่อยๆจนทุกวันนี้ไม่ถึงล้านปีมานี้เอง ภูเขาแคสเคดที่อยู่ทางด้านตะวันออกของสหรัฐฯ ได้โผล่ขึ้นมาจากทะเล ด้วยอำนาจของการระเบิดของภูเขาไฟในบริเวณนั้น การระเบิดในส่วนอื่นๆของโลกทำให้เกิดภูเขาไม่น้อย แม้ในยุคประวัติศาสตร์ ก็มีตัวอย่างให้เห็นอยู่ในหลายแห่ง
การเกิดของภูเขา ทำให้ผิวโลกเปลี่ยนแปลงไป และยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่ในยุคนั้นเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทำให้เกิดสภาพเหมาะสมที่ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้น ทำให้โลกพัฒนาการมาได้อย่างน่าประหลาด
ยุคธารน้ำแข็งทุกวันนี้โดยสภาพของธรรมชาติ โลกเรายังคงอยู่ในยุคของน้ำแข็ง เพราะขั้วโลกทั้งสองยังคงปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งเป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล ตามยอดเขาสูงๆก็ปกคลุมไปด้วยหิมะ ถ้าปราศจากความร้อนที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์แลัว ผิวโลกทั้งหมดจะถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งอย่างสิ้นเชิง
โลกเปลี่ยนแปลงเข้ามาอยู่ในยุคน้ำแข็งเป็นเวลาหลายพันล้านปี ตามทางการสำรวจของนักวิทยาศาสตร์พบว่า แต่เดิมเมื่อชีวิตเกิดขึ้นมา และพัฒนาการเป็นพืชและสัตว์นั้น หน่วยของชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ทั่วๆไป แม้ตามส่วนที่เป็นขั้วโลก แต่เมื่อเกิดยุคน้ำแข็งขึ้นมา น้ำแข็งก็ได้ผลักดันสิ่งมีชีวิตทั้งหลายให้ถอยร่นลงมายังส่วนที่อบอุ่นของโลก ซึ่งเป็นบริเวณถัดลงมาจากขั้วโลกทั้งสอง และบริเวณส่วนกลางของโลกซึ่งเรียกว่า เส้นศูนย์สูตร
น้ำแข็งเกิดมาได้ด้วยสาเหตุหลายปรพการด้วยกัน เช่น ภูเขาที่เกิดขึ้นใหม่เพราะอำนาจผลักดันจากส่วนภายในของโลก อาจปิดกั้นทางลมร้อนที่พัดไป ทำให้แผ่นดินเบื้องหลังเย็นตัวลง ขี้เถ้าจากการระเบิดของภูเขาไฟซึ่งมีอยู่ทั่วไปในขณะนั้น อาจจับกลุ่มเป็นเมฆหนาทึบปิดบังแสงแดดที่ส่องลงมายังผิวโลก เมื่อความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์มีน้องลง อุณหภูมิของอากาศก็ลดต่ำลง ทำให้ไอน้ำเกาะรวมตัวกันเป็นหยดน้ำ และกลายเป็นน้ำแข็งปกคลุมไปทั่ว
ยุคน้ำแข็งได้ปกคลุมผิวโลกอยู่เป็นเวลานานเป็นล้านปี ผิวโลกเกือบหนึ่งในสี่ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง เมื่อเมฆเริ่มจางลงและผิวโลกได้รับแสงแดดดและความร้อนจากดวงอาทิตย์มากขึ้น น้ำแข็งก็ละลายบ้าง กลับเกิดขึ้นมาอีกบ้าง กลับไปกลับมาหลายครั้ง การละลายครั้งสุดท้ายเสร็จสิ้นไปเมื่อประมาณ 10000 ปี มานี้เอง ทำให้บริเวณที่ยังปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งเลื่อนขึ้นไปอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสอง เพราะแถบนั้นได้รับแสงแดดและความร้อนจากดวงอาทิตย์ทางเฉียง จึงมีอุณหภูมต่ำ อยู่ในระดับที่ยังมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ได้ ประมาณกันว่าที่ขั้วโลกทั้งสองมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ถึง 5000000 ลูกบาศก์ไมล์ นอกจากนี้น้ำแข็งยังปกคลุมอยู่ในอลาสกา นิวซีแลนด์ และในประเทศแถบคาบสมุทรสแกนดิเวเนีย กับตามเทือกเขาสูงๆ เช่น เทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาแอลป์ เป็นต้น สำหรับน้ำแห็งที่เกิดขึ้นในแถบขั้วโลกทั้งสองนั้นมีเกิดขึ้นและละลายไปเป็นปีๆ
การที่เกิดยุคน้ำแข็งแล้วน้ำแข็งละลายไหลเลื่อนลงมาสู่ที่ต่ำกว่านั้น ทำให้ผิวโลกยุคนั้นเต็มไปด้วยธารน้ำแข็งอยู่ทั่วไป ธารน้ำแข็งนี้มีอำนาจสำคัญยิ่ง ในการสึกกร่อนผิวโลกให้เปี่ยนแปลงไปได้อย่างมากมาย
นับเวลาต่อมาเป็นพันๆปี อากาศที่ห่อหุ้มโลกจึงมีอุณหภูมิต่ำลง ขณะเดียวกันที่น้ำแข็งปกคลุมผิวโลกละลาย ก็ทำให้ระดับน้ำในมหาสมุทรเพิ่อสูงขึ้นทีละน้อยๆไ สำหรับยุคปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาศตร์คำนวนว่า ถ้าน้ำแข็งในที่ต่างๆของโลกละลายหมด จะทำให้น้ำในมหาสมุทรสูงขึ้นมากกว่า 100 ฟุต
อนาคตของโลกความจริงโลกเราทุกวันนี้ยังนับว่ามีอายุน้อยมาก เพราะในกาลต่อไปโลกอาจจะยั่งยืนอยู่คู่ดวงอาทิตย์ ซึ่งต้องนับเวลาเป็นนับพันล้านๆ ปี นอกจากจะเกิดเหตุทำให้แตกสลายไปเสียก่อนเท่านั้น เช่นอาจะมีดาวดวงอื่นพุ่งมาชน ถ้ามิเช่นนั้นแล้วกว่าจะเกิดการวิบัติลงไปได้ต้องกินเวลานานแสนนาน บางทีอาจจะสัก 10 พันล้านปีต่อไป ก๊าซไฮโดเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของดวงอาทิตย์จะมีปริมาณน้อยลง เป็นเหตุให้ดวงอาทิตย์พองโตขึ้นและหมุนเร็วยิ่งขึ้น และกลายเป็น ดาวฤกษ์ยักษ์แดง (Red Giant) ไป และมีขนาดใหญ่กว่าเดิมหลายสิบเท่า เปลือกนอกของดวงอาทิตย์ที่พองออกมาจะเข้าใกล้โลกมากขึ้น ทำให้โลกได้รับความร้อนมากขึ้นอีก จนอาจจะทำให้น้ำในมหาสมุทรระเหยขึ้นไปในอากาศ ทำให้น้ำในมหาสมุทรแห้งขอด บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกก็จะร้อนจัด และพองตัวหนีออกไปนอกอวกาศอันเวิ้งว้าง ชีวิตในโลกจะสิ้นไป แสงสีแดงจะปกคุมไปทั่ว และเต็มไปด้วยความร้อนระอุ เช่นเดียวกับเมื่อตอนเกิดโลกดาวฤกษ์ยักษ์แดง (Red Giant) ไป และมีขนาดใหญ่กว่าเดิมหลายสิบเท่า เปลือกนอกของดวงอาทิตย์ที่พองออกมาจะเข้าใกล้โลกมากขึ้น ทำให้โลกได้รับความร้อนมากขึ้นอีก จนอาจจะทำให้น้ำในมหาสมุทรระเหยขึ้นไปในอากาศ ทำให้น้ำในมหาสมุทรแห้งขอด บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกก็จะร้อนจัด และพองตัวหนีออกไปนอกอวกาศอันเวิ้งว้าง ชีวิตในโลกจะสิ้นไป แสงสีแดงจะปกคุมไปทั่ว และเต็มไปด้วยความร้อนระอุ เช่นเดียวกับเมื่อตอนเกิดโลก
บางทีเมื่อดวงอาทิตย์พองตัวใหญ่ขึ้น โลกอาจจะฝังตัวเข้าไปอยู่ในดวงอาทิตย์เสียก็ได้ หรือไม่ก็ดวงอาทิตย์ก็จะหดตัวเล็กลง ทำให้อุณหภูมิของโลกต่ำลง และสภาพดินฟ้าอากาศ ก็อาจจะพอมีชีวิตอุบัติขึ้นมาใหม่อีกก็ได้ นักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า ดวงอาทิตย์ในกาลต่อไปจะค่อยๆเย็นลง สารที่ประกอบเป็นดวงอาทิตย์จะหดตัวรวมกันเป็นกลุ่มหนาแน่นเข้าอีก สัก 30-40 พันล้านปีดวงอาทิตย์อาจจะมีแสงสว่างน้อยลง และมืดมิดดับไปในที่สุด สุริยะจักรวาลของเราก็จะดับมืดลงไปด้วย โลกจะตกอยู่ในความมืด อากาศจะเย็นจัดจนถึงกับจับตัวเป็นก๊าซแข็งห่อหุ้มโลกทั้งใบ .....!!!!!
ความนึกคิดในทำนองนี้คงฝังอยู่ในความรู้สึกของมนุษย์สมัยนั้นมาตลอด แม้กระทั่งเมื่อ 2-3 ร้อยปีมานี้ คนส่วนมากก็เข้าใจว่าโลกนี้มีลักษณะหรือสัณฐานแบน มีมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ล้อมรอบ มีดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านทางเบื้องบนทุกวัน แล้วสรุปเอาว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ดวงดาวต่างๆหมุนเวียนอยู่รอบๆดวงอาทิตย์ในขณะที่ยังเป็นกลุ่มก๊าซอยู่ และหมุนรอบดวงอาทิตย์ในทางโคจรที่จำกัด นานเข้าก็จับกลุ่มเย็นตัวลงก่อน และกลายเป็นดาวเคราะห์ ที่ไม่มีแสงในตัวเอง และยังมีดาวดวงเล็กๆ เป็นบริวารของดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีก เรียกว่าดวงจันทร์ และก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันที่จับกลุ่มแล้วโคจรไปในรูปแบบของดาวหาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น