รักยมเป็นรูปเด็กแกะด้วยไม้คู่หนึ่ง มีลักษณะเป็นเด็กผมจุกยืนกำหมัดทั้งสองข้าง คล้ายกำลังทำท่าชกมวย ตัวที่ชื่อรักนั้น เกจิอาจารย์แกะ ด้วย ไม้รักซ้อน บางตำราก็ใช้ต้น บางตำราก็ใช้รากที่ชี้ไปทางทิศตะวันออก และต้องเป็นรากที่เรียกว่าตายพราย คือตายเองด้วย
ส่วนตัวที่ ชื่อ ยม ก็แกะจากไม้มะยม ใช้ต้นและรากลักษณะเดียวกันกับรากหรือต้นรักซ้อน นั้นแต่มีสีขาว ส่วนตัวที่ทำจากรากรักซ้อนมีสีดำ เมื่ออาจารย์ได้บรรจงแกะรูปเด็กหัวจุกทั้งสองเสร็จแล้ว ก็จะกระทำพิธีปลุกเสกโดยเอารูปแกะกุมารทั้งสองวางลงในขันสำริด ที่มีน้ำมันหอมหรือน้ำมันจันทร์ใส่เตรียม ไว้ก่อนแล้ว อาจารย์จะต้องทำให้เกิดนิมิตในขณะปลุกเสก คือปลุกจนกระทั่งรูปแกะกุมารทั้งสองนั้นลุกขึ้นเต้น และเล่นกันดุจมีชีวิตวิญญาณ แล้ว จึงเป็นอันใช้ได้
ผู้ที่จะให้เจ้ารักเจ้ายมช่วยเหลือในภารกิจของตน ก็นำรักยมพร้อมทั้งน้ำมันหอมนั้นประจุลงในขวดแก้วเล็กๆ ซึ่งมีขนาดพอดีกับ ตัวของรักยมที่จะลงไปอยู่ด้วยกันได้ทั้งคู่ นำติดตัวในเมื่อจะออกจากบ้านไปทำภารกิจนั้นๆ ครั้นเมื่อกลับเข้าสู่เคหะสถานบ้านเรื่อน ตน ก็นำรักยม เข้าไว้ในที่อันสมควร จัดแจงข้าวปลาอาหารขนมให้รักยมทั้งสองบริโภค ดุจดังเราเลี้ยงเด็กๆ ไว้ในบ้าน
การพูดจากับรักยมนั้นก็ต้องพูดเอง และ ตัวผู้ใช้ตอบเอง ที่เรียกว่า "พูดเองเออเอง"แล้วแต่ปรารถนาสิ่งใดๆ ก็ให้กล่าววาจากับเขาขอให้รักยมช่วยในกิจนั้นๆผู้ใช้จะต้องคอยดูน้ำมันหอม ที่ใส่ในขวดรักยมอยู่เสมอ และระวังอย่าให้แห้งได้ เมื่อจวนจะแห้งหรือน้ำมันจันทร์เหลือน้อย จำเป็นต้องเติมมิให้พร่องลงได้ ท่านว่ารักยมจะขึ้น และให้ผลแก่ตัวเจ้าของดีนัก ทั้งน้ำมันจันทร์ในขวดนั้นเล่าก็ใช้ทาคิ้วทาผมเป็นเครื่องสำอางที่จะยังเสน่ห์ให้แก่ผู้ใช้เป็นอเนกประการ
ในขณะ ที่ จะ ไปเอารากรักและรากมะยมมากระทำพิธีแกะนั้น ท่านให้เดินทางออกจากบ้านไปแต่เช้าตรู่ ห้ามพูดกับผู้ใดในขณะนั้นเมื่อถึงต้นรักและมะยมที่ หมายตาเอา ไว้ก่อนแล้วก็ลงมือพลี (ขุดและตัดเอารากมา) โดยพูดว่า เจ้ารัก (ยม) เอ๋ย จงไปอยู่กับพ่อ จงช่วยพ่อให้สำเร็จสมปรารถนาเถิด
"นะมะพะทะอาคัจฉายะ อาคัจฉามิ มานี่มะมามา"
เมื่อพลีไม้รักหรือไม้ยมมาได้แล้ว ท่านให้วิ่งกลับบ้าน โดยมิให้เหลียวหลังไปดูต้น ไม้นั้นเป็น อันขาด ครั้นเมื่อถึงบ้านแล้วจึงเอา รากรักซ้อนและรากยมนั้นปิดทองคำแผ่นให้งดงาม แล้วเอาคั่นกลางใจบ้าน พลีมาด้วนคาถา นะ มะ พะ ทะ หยิบมือหนึ่ง ห่อด้วยกระดาษว่าว ตั้งไว้หน้ารากรักและยมพร้อมด้วยสำรับกับข้าวเล็กๆ เป็นการบวงบนแด่วิญญาณของ รักยม กระทำดังนั้นแล้ว พอได้เวลาสมควร (กะว่าจุดธูปหมดดอก) จึงนำไม้นั้นไปมอบให้อาจารย์สร้างรักยมต่อไป
มีเรื่องกล่าวถึงความเป็นมาของเจ้ารักยม นี้ตั้งแต่ครั้ง บรมกาลดังนี้
กาลครั้งหนึ่งในราวป่าหิมพานต์อันเป็นที่บำเพ็ญพรตของเหล่าพระฤาษีทั้งหลายผู้มีอายุนับด้วยกัปป์อยู่มาวันหนึ่งพหลปีติฤาษีออก จากอาศรมไปเที่ยวเก็บผลไม้เพื่อขบฉัน ผ่านสระน้ำแห่งหนึ่งอันมีปทุมชาติชูช่ออยู่ดารดาษ พหลปีติฤาษีตั้งใจจะตักน้ำใส่เต้าที่ทำ ด้วยผลน้ำเต้า แห่งป่าหิมพานต์เอาไปไว้บริโภคที่อาศรม ก็เหลือบไปเห็นกุมารน้อยคู่หนึ่งอยู่ในรัตตะอุบล (บัวสายมีสีอันแดง)จึงได้เก็บกุมารน้อยนั้นนำมา เลี้ยงไว้ยังอาศรมของตน ครั้นกาลต่อมาเมื่อกุมารน้อยนั้นเติบใหญ่พหลปีติฤาษีจึงให้ชื่อกุมารน้อยนั้นว่า รัตตะกุมารคนหนึ่ง และยมกะกุมารหนึ่ง
พร้อมกันนั้น พหลปีติฤาษีก็ได้ถ่ายทอดวิทยาคมทั้งปวงให้แก่กุมารทั้งสองนั้น เป็นอันดีสมชาติชายชาตรีทุกประการสำหรับรัตตะกุมารนั้น กล่าวว่า เป็นมานพ น้อยมีรูปโฉมงดงาม ส่วนยมกะกุมารนั้นเล่าแม้จะด้อยในทางรูปสมบัติ แต่ก็มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญใน ทางกระบวนยุทธ และเวทย์อาคมทั้งปวง เป็นที่ชดเชยกันกับรูปสมบัติแห่งตนนั้นไม่ยิ่งหย่อน อยู่มาเวลาหนึ่งกุมารทั้งสอง ซึ่งบัดนี้เป็นหนุ่มใหญ่ฉกรรจ์เข้า ไป บังคับพระพหลปีติฤาษีผู้มีอุปการะดุจบิดาบังเกิดเกล้า ขอลาเข้าไปยังในบ้านในเมืองเพื่อหาโอกาส ทำราชการหาความดีความชอบใส่ตนต่อไป พหลปีติฤาษีมีความอาลัยยิ่งนัก
แต่ด้วยความเป็นผู้นำบำเพ็ญพรตสละโลกียวิสัยจึงตัดความอาลัยรักเสียนั้นได้ แล้วสั่งกำชับแก่กุมารทั้งสองผู้บุตรบุญธรรมนั้นว่ามาตร์แม้นได้เข้ารับราชการงานเมืองเป็นทหารแห่งพระราชา ณ แคว้นใดแล้ว อย่าไปถือว่าตนเป็นผู้มีวิชาเก่งกล้า ทำลาย ชีวิตมุนษย์และสัตว์โดยไม่จำเป็นเป็นอันขาด จงตั้งใจอยู่ในความไม่ประมาท อย่าทำอันตรายแก่ผู้ด้อยกว่าตนรัตตะกุมาร และยมกะกุมาร นพน้อย ก็รับคำพหลปีติฤาษี แล้วออกจากอาศรมของพระผู้มีคุณนั้นไปด้วยใจรันทดยิ่งนัก
เมื่อมานพน้อยทั้งสองออก จากพหลปีติฤาษีอาศรมไปไม่นาน เท่าใดนัก เขาก็ได้เข้าไปเป็นทหารอาสาอยู่กับพระราชาผู้ครองแคว้นแห่งหนึ่ง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตประกอบ กับความเป็นผู้มีฝีมือแห่ง ฤาษี บุตรทั้งสองรัตตะกุมารได้ตำแหน่ง ทหารเอกแห่งแคว้น
ส่วนยมกะกุมารได้ตำแหน่งที่ปรึกษาราชการงานแผ่นดินแห่งแคว้นในเวลาต่อมาด้วย รัตตะ กุมารนพเป็นผู้ที่มีรูปโฉมสง่างามสมชายชาตรีดังกล่าวแล้ว จึงเป็นที่เสน่ห์หาและหลงใหลแก่ราชธิดาของพระราชาแคว้นนั้น
แต่ความรัก ของรัตตะกุมารมานพและเจ้าหญิงมีอุปสรรคความทราบถึงราชบิดาเข้าก็ไม่ทรงพอพระทัย เพราะเจ้าหญิงได้ถูกหมายหมั้นปั้นมือ จากกษัตริย์ ผู้บิดาว่าจะให้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายผู้ครองแคว้นอีกแคว้นหนึ่ง ซึ่งเป็นราชตระกูลกษัตริย์เท่าเทียมกันเจ้าหญิงจึงต้องถูกพรากตัวออกไปจาก ราชวังที่พระองค์เคยประทับอยู่ด้วยความเกษมสำราญมาแต่ทรงพระเยาว์รัตตะกุมารทราบเรื่องเข้ามีความแค้นเคืองพระราชาแห่งแคว้นเจ้า เหนือ หัวของตนเป็นอย่างมากและวางแผนการณ์ ที่จะฆ่าเสีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น